วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กลไกราคา หรือกลไกการตลาด

กลไกราคาหรือกลไกการตลาด

หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าในตลาด มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามแรงผลักดันของอุปสงค์อุปทานใช้กับระบบเศรษฐกิจเเบบเสรี

อุปสงค์  อุปทาน

ภายใต้ระบบเศรฐกิจเเบเสรีนิยมหรือทุนนิยมื กลไกราคาจะป็นเครื่องมือสำคัญในการเเก้ปัญหาพื้นฐานาทงเศรฐกิจ


อุปสงค์ คือ จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ซื้อต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่าง ๆหรือ ณ ระดับรายได้ต่าง ๆ หรือ ณ ระดับราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยปกติจะให้ความสำคัญกับเรื่องระดับราคามากที่สุด และเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไป จำนวนซื้อสินค้าและบริการชนิดนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ ที่เป็นเช่นนี้เพราะผลของราคาซึ่งประกอบด้วยผลของการทดแทนกัน และผลของรายได้
          เส้นอุปสงค์สามารถสร้างได้จากข้อมูลในตารางอุปสงค์ ซึ่งจะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคา และปริมาณซื้อ โดยปกติเส้นอุปสงค์จะเป็นเส้นทอดลงจากซ้ายไปขวา เส้นอุปสงค์สามารถเปลี่ยนแปลงไปทั้งเส้น โดยอยู่ทางขวามือหรือทางซ้ายมือของเส้นเดิมก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ทำให้จำนวนซื้อมากขึ้นหรือน้อยลง

อุปสงค์ต่อราคา (price  demand)

คือระดับราคาต่างๆ ของตลาด อุปสงค์ต่อระดับรายได้ต่างๆ ของผุ้บริโภคนั้นๆ อุปสงค์ไขว้หรืออุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่นเปนความต้องการซื้อที่สามารถซื้อได้ของสินค้าชนิดหนึ่งต่อราคาสินค้าชนิดหนึ่ง

กฎของอุปสงค์

คือ เมื่อราคาลดลงปริมาณของอุปสงค์จะเพิ่มขึ้นเเละเมือราคาสูงขึ้นปริมาณอุปสงค์จะลดลง ลักษณะทั่วไปของเส้นอุปสงค์ทอดลงมาจากว้ายไปขวา(สินค้าปกติ)
ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์       อุปสงค์ของสินค้าเกษตรหรือปริมาณความต้องการซื้อ ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ ทั้งนี้ หากปัจจัยเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลให้อุปสงค์เปลี่ยนไปด้วย ตัวอย่างปัจจัยสำคัญที่กำหนด อุปสงค์ เช่น
  1. สภาพเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจมีผลต่อกำลังซื้อของผู้ใช้หรือผู้บริโภคโดยตรง และมีความสัมพันธ์ ในทิศทางเดียวกับความต้องการซื้อสินค้า สินค้าเกษตรหลายชนิดหากภาวะเศรษฐกิจขยายตัว ความต้องการสินค้าเกษตรจะมีเพิ่มมากขึ้น เช่น นม เนื้อสัตว์ และผลไม้ เป็นต้น
  2. จำนวนประชากร จำนวนประชากรกับปริมาณความต้องการซื้อจะเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกัน หากประชากรเพิ่มขึ้น ความต้องการบริโภคสินค้าเกษตรย่อมเพิ่มขึ้นตาม
  3. รสนิยมการใช้/บริโภค ความต้องการใช้/บริโภคสินค้าเกษตรยังขึ้นกับรสนิยมของผู้บริโภค เช่น บางประเทศนิยมบริโภคข้าวเมล็ดสั้น ขณะที่บางประเทศนิยมบริโภคข้าวเมล็ดยาว ทั้งนี้ รสนิยมที่ เปลี่ยนไปจะมีผลต่อปริมาณอุปสงค์ของสินค้าเกษตรนั้นๆ
  4. ราคาสินค้าชนิดอื่น ความต้องการซื้อสินค้าเกษตรแต่ละชนิด ยังขึ้นกับราคาสินค้าชนิดอื่นด้วย   ดังนี้
    - กรณีเป็นสินค้าใช้ประกอบกัน (Complementary goods) ราคาที่เปลี่ยนแปลง ไปของสินค้าชนิดหนึ่ง จะทำให้ความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ของสินค้าอีกชนิดหนึ่ง เปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ตรงกันข้าม ตัวอย่างเช่น  กาแฟกับน้ำตาล หากราคากาแฟสูงขึ้น จะทำให้ความต้องการบริโภคหรืออุปสงค์ของน้ำตาลลดลง เนื่องจากราคากาแฟที่สูงขึ้นจะ จูงใจให้ผู้บริโภคลดการบริโภคกาแฟลง รวมทั้งน้ำตาลที่เป็นสินค้าที่บริโภคคู่กับกาแฟด้วย
    - กรณีเป็นสินค้าใช้ทดแทนกัน (Substitution goods) ราคาที่เปลี่ยนแปลงของ สินค้าชนิดหนึ่ง จะทำให้ความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ของสินค้าอื่นที่ทดแทนกันเปลี่ยนแปลง ไปในทิศทางเดียวกัน ตัวอย่างเช่น เนื้อไก่กับเนื้อหมู  หากราคาเนื้อไก่เพิ่มขึ้น ความต้องการ บริโภคเนื้อหมูหรือ อุปสงค์เนื้อหมูจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคอาจลดการบริโภคเนื้อไก่และ หันมาบริโภคเนื้อหมูมากขึ้นเพราะเนื้อหมูมีราคาถูกกว่าโดยเปรียบเทียบ



 อุปทาน  คือ  จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ขายต้องการขาย  ณ ระดับราคาต่าง ๆ ซึ่งจำนวนขายจะเปลี่ยนแปลงในทางเดียวกันกับราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเส้นอุปทานซึ่งเป็นเส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและจำนวนขาย จึงเป็นเส้นทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา เส้นอุปทานสามารถเปลี่ยนแปลงไปทางซ้ายมือหรือขวามือของเส้นเดิมได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปทานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่จะทำให้จำนวนขายมากขึ้นหรือน้อยลง

กฎของอุปทาน(supply)
เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้นปริมาณอุปทานก็จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตมีความต้องการที่จะเสนอขายมากขึ้นเพราะคาดการณ์ว่าจะไดกำไรสูงขึ้นในการกลับกัน เมื่อราคาสินค้าลดลงปริมาณอุปทานจะน้อยลงเนื่องจากการคาดการณ์ว่ากำไรที่ได้จะลดลง ลักษณะทั่วไปของเส้นอุปทานจึงเป็นเส้นที่มีลักษณะลากเอียงจากซ้ายไปขวา
ปัจจัยที่กำหนดอุปทาน
       อุปทานของสินค้าเกษตรหรือปริมาณความต้องการขาย ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ ทั้งนี้หากปัจจัยเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลให้อุปทานเปลี่ยนไปด้วย ตัวอย่างปัจจัยสำคัญที่ กำหนดอุปทาน เช่น
  1. สภาพดินฟ้าอากาศและฤดูกาล สภาพอากาศมีผลต่อปริมาณผลผลิตของสินค้าเกษตร เช่น หาก สภาพอากาศเอื้ออำนวย ผลผลิตการเกษตรที่ออกมาจะมีมาก นอกจากนี้ สินค้าเกษตรหลายชนิด
    ออกเป็นฤดูกาล (Seasonality) ซึ่งจะมีผลต่ออุปทานสินค้าเกษตรในช่วงนั้นๆ เช่น ผลผลิตข้าวนาปี จะออกมามากในช่วงปลายปี เป็นต้น
  2. จำนวนพื้นที่เพาะปลูก การเพิ่ม/ลดพื้นที่เพาะปลูกจะส่งผลต่อปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น/ลดลง
  3. ผลผลิตต่อไร่ (Yield) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์พืช ช่วยให้สามารถผลิต สินค้าเกษตรได้เพิ่มขึ้น โดยใช้พื้นที่เท่าเดิม หรือมีต้นทุนต่ำลง
  4. ราคาผลผลิตชนิดอื่น การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าชนิดหนึ่งอาจมีผลกระทบต่อปริมาณผลผลิต หรืออุปทานของสินค้าอีกชนิดหนึ่งได้ เช่น หากราคายางพาราสูงขึ้นมาก อาจจูงใจให้เกษตรกร ที่ปลูกสินค้าอื่น เช่น ข้าวโพด หันมาปลูกยางพาราแทน ส่งผลให้ผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตข้าวโพดลดลง เป็นต้น
    ราคาและราคาดุลยภาพ
    ในระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยมนักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าราคาของสินค้าและบริการจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาด เนื่องจากอุปสงค์จะแสดงถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าชนิดหนึ่งเป็นปริมาณเท่าใดในแต่ละระดับราคา ส่วนอุปทานจะเป็นการแสดงถึง พฤติกรรมของผู้ผลิตในการขายสินค้าชนิดนั้นเป็นปริมาณเท่าใดในแต่ละระดับราคา โดยปกติแล้ว ปริมาณความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ในสินค้าไม่จำเป็นจะต้องเท่ากับปริมาณความต้องการเสนอขายหรือ อุปทานในสินค้า ณ ขณะใด พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าจะเป็นไปตามกฎของอุปสงค์และอุปทานดังนี้
    ถ้าอุปสงค์ของสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งมีปริมาณมากกว่าอุปทานของสินค้าชนิดนั้น ราคาสินค้านั้นจะมีแนวโน้มสูงขึ้น และเมื่อราคาสินค้าสูงขึ้นจะทำให้อุปทานเพิ่มขึ้น อุปสงค์ลดลง ตรงกันข้าม ถ้าอุปสงค์มีปริมาณน้อยกว่าอุปทาน ราคาสินค้านั้นจะมีแนวโน้มลดลง และเมื่อราคาสินค้าลดลงจะทำให้อุปทานลดลง อุปสงค์เพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทานของสินค้าจะเคลื่อนไหว สลับไปมาอย่างนี้เรื่อยไป จนกระทั่งเข้าสู่ดุลยภาพของตลาด ณ จุดที่ปริมาณอุปสงค์เท่ากับปริมาณอุปทาน เราเรียกระดับราคาดังกล่าวว่า ราคาดุลยภาพ (equilibrium price)
    ราคาดุลยภาพหมายถึงระดับราคา ณ จุดที่ปริมาณอุปสงค์เท่ากับปริมาณอุปทาน (ดุลยภาพ ของตลาด) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นราคาที่ความต้องการเสนอซื้อเท่ากันพอดีกับความต้องการ เสนอขาย ถ้าพิจารณาจากกราฟ ราคาดุลยภาพจะเป็นระดับราคา ณ จุดที่เส้นอุปสงค์ตัดกับเส้นอุปทาน
เงินเฟ้อ เงินฝืด

1.ภาวะเงินเฟ้อ
1.1 ภาวะเงินเฝ้อ หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาของสินค้าเเละบริการมีเเนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ความสามารถในการซื้อของประชากรลดลง กล่าวคือ การมีจำนวนเงินเท่าเดิมเเต่ซื้อสินค้าได้น้อยลง ลักษณะของเงินเฝ้อมี 3 ลักษณะ คือ
1.ภาวะเงินเฟ้ออย่างอ่อน
ซึ้งทำไห้ระดับราคาสินค้าเเละบริการสูงขึ้นไม่เกิน 5% ซึ่งเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ กระตุ้นให้มีสินค้าเเละบริการเพิ่มขึ้น
2.ภาวะเงินเฟ้อปานกลาง
ซึ้งทำให้ระดับราคาสินค้าเเละบริการสูงขึ้นเกิน 5%  แต่ไม่เกิน 20% ประชาชนเดือดร้อนมากเนื่องจากค่าครองชีพสูงขึ้น
3.ภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนเเรง
ซึ้งทำให้ระดับราคาสินค้าเเละบริการสูงขึ้นเกิร 20 %ต่อปี่ทำให้ประชาชนเดือดร้อนมากเนื่องจากค่าเงินลดอย่างรุนเเรง เกิดภาวะสงครามอุบัติภัยต่างๆ
การเเก้ไขภาวะเงินเฟ้อ
จะไช้การลงทุนการเงินการคลังเป็นหลักเช่นการขยาย พันธบัตรรัฐบาลให้ประชาชนเพื่อดูดซับสภาพคล่องจากตลาดคืน หรือการจูงใจการเพิ่มอัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากเป็นก้อน

2.ภาวะเงินฝืด
หมายถึง ระดับราคาสินค้าเเละบริการโดยทั่วไปลดลงอย่างต่อเนื่องทำไห้อำนาจการซื้อเพิ่มขึ้นเพราะมีปริมาณที่หมุนเวียน อยู่ในระดับเศรษฐกิจมีน้อยเมื่อเปรียบกับความต้องการ ลักษณะของเงินฝืดมี 3 ลักษณะ
1.เงินฝืด อย่างอ่อน
ซึ่งราคาสินค้าเเละบริการลดลงไม่เกิน 5 ต่อปี ช่วยกระตุ้นให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดี
2.เงินฝืดปานกลาง
ซึ่งราคาสินค้าลดลงเกิน 5 ต่อปี เเต่ไม่เกิน 20 ต่อปีไม่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ คือเมื่อราคาลดลงมากไม่มีเเรงจูงใจให้มีการผลิตสินค้า ซึ้ง
จะทำไห้ประชาชนมีรายได้น้อย
3.เงินฝืดอย่างรุนเเรง
ซึ่งราคาสินค้าเเละบริการลดลงเกิน 20 หยุดการผลิต คนว่างงานทำให้รายได้ลดลงทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ
การเเก้ไขภาวะเงินฝืด
1.การประการซื้อคืนพันธบัตรจากประชาชน เพื่ออัดฉีดเม้ดเงินเข้าสู่ระบบมากขึ้น
2.ควรลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อกระตุ้นให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
3.ควรลดภาษีให้กับประชาชน เพื่อเพิ่มอัตราการซื้อให้กับประชาชนมากขึ้น